เปิดไทม์ไลน์ 4 พายุ 4 ร่องมรสุมที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ทำฝนตกหนักมากกว่า 200 มล. ต่อเนื่องช่วงเดือน ส.ค.-ต.ค.2565
ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี ย้อนไทม์ไลน์ 4 พายุ 4 ร่องมรสุมที่เกิดผลกระทบต่อประเทศไทย ตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่ามีฝนตกหนักมากกว่า 200 มล.ต่อเนื่องช่วงเดือน ส.ค.-ต.ค.2565
โดยนับตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากสภาพภูมิอากาศ เกิดร่องมรสุม และพายุอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีปริมาณฝนตกเป็นจำนวนมาก สร้างความเดือดร้อนให้แก่พี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ในปีนี้ประเทศไทยมีสถิติฝนตกสูงมากกว่าปกติ และในบางจังหวัดทุบสถิติฝนตกมากที่สุดในรอบ 30 ปี ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีดังนี้
2-8 ส.ค.2565
ร่องมรสุมพัดพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ส่งผลให้ฝนตก และฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย หลายพื้นที่ในภาคเหนือ, ตะวันตก, ตะวันออก, ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ มีปริมาณฝนตกหนักมากกว่า 125 มิลลิเมตร (125 ลิตรต่อตารางเมตร) ในหลายพื้นที่
11-13 ส.ค.2565
พายุดีเพรสชัน “มู่หลาน”
ส่งผลให้ฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมแทบจะทุกภูมิภาคของประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือจังหวัดน่านตอนบนที่ รองลงมาคือเชียงรายและเชียงใหม่, กาญจนบุรี, สระแก้ว และปราจีนบุรี
ในหลายพื้นที่มีฝนตกหนักมากกว่า 100 มิลลิเมตร (100 ลิตรต่อตารางเมตร)
20-22 ส.ค.2565
ร่องมรสุมพัดพาดผ่านภาคเหนือ
ส่งผลให้ฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือจังหวัดยโสธร, ร้อยเอ็ด, กาฬสินธุ์, น่าน, พังงา และระนอง รองลงมาคือจังหวัด สกลนคร, อุดรธานี, พิษณุโลก, จันทบุรี และตราด
ในหลายพื้นที่มีฝนตกหนักมากกว่า 100 มิลลิเมตร (100 ลิตรต่อตารางเมตร)
24-26 ส.ค.2565
พายุดีเพรสชัน “หมาอ๊อน”
ส่งผลให้ฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือจังหวัดปราจีนบุรี, ลำปาง, พังงา และภูเก็ต รองลงมาคือจังหวัดลพบุรี, นครสวรรค์, ชัยนาท, สิงห์บุรี และกระบี่
ในหลายพื้นที่มีฝนตกหนักมากกว่า 100 มิลลิเมตร (100 ลิตรต่อตารางเมตร)
5-9 ก.ย.2565
ร่องมรสุมกำลังแรงพัดพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ส่งผลให้ฝนตก และฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือกรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ, ปทุมธานี, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด, เลย, ตาก, นครสวรรค์, พิษณุโลก, ระนอง, พังงา และสุราษฎร์ธานี
รองลงมาคือจังหวัดปราจีนบุรี, นครราชสีมา, บุรีรัมย์, มหาสารคาม, เชียงใหม่, เชียงราย และ กำแพงเพชร บางพื้นที่มีปริมาณฝนตกหนักมากกว่า 200 มิลลิเมตร (200 ลิตรต่อตารางเมตร)
6-11 ก.ย.2565
ร่องมรสุมพัดพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ส่งผลให้ฝนตก และฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือกรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ, ปทุมธานี, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด, สระแก้ว, ปราจีนบุรี,
นครราชสีมา, เลย, อุดรธานี, หนองบัวลำภู, อุตรดิตถ์, พิษณุโลก, นครสวรรค์, เชียงใหม่, เชียงราย, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, ระนอง และพังงา บางพื้นที่มีปริมาณฝนตกหนักมากกว่า 300 มิลลิเมตร (300 ลิตรต่อตารางเมตร)
28-30 ก.ย.2565
พายุดีเพรสชัน “โนรู”
ส่งผลให้ฝนตก และฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือจังหวัดอุบลราชธานี, อำนาจเจริญ, ยโสธร, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, บุรีรัมย์, นครสวรรค์, เพชรบูรณ์, ลพบุรี, ระนอง, พังงา. สุราษฎร์ธานี และสตูล รองลงมาคือจังหวัดเลย, อุดรธานี, ตาก และชุมพร
บางพื้นที่มีปริมาณฝนตกหนักมากกว่า 200 มิลลิเมตร (200 ลิตรต่อตารางเมตร)
14-17 ต.ค.2565
พายุดีเพรสชัน “เซินกา”
ส่งผลให้ฝนตกหนักในภาคใต้ฝั่งอันดามัน และฝนตกในภาคเหนือ, ภาคกลาง, ภาคตะวันตก, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือจังหวัดชุมพร, ระนอง, พังงา, ภูเก็ต และสตูล
บางพื้นที่มีปริมาณฝนตกหนักมากกว่า 200 มิลลิเมตร (200 ลิตรต่อตารางเมตร)
สำหรับการเตรียมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมนั้น ศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี มีการพยากรณ์สถานการณ์น้ำล่วงหน้า 6 เดือน เพื่อให้รัฐบาลสามารถเตรียมการได้อย่างทันท่วงที
ในปัจจุบัน สถานการณ์น้ำท่วมดีขึ้นแล้ว รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา สามารถลดพื้นที่ประสบอุทกภัยจาก 54 จังหวัด ให้เหลือเพียง 28 จังหวัด พื้นที่ประสบอุทกภัยในปัจจุบันลดลงเหลือ 1,214,020 ไร่ คิดเป็น 0.4% ของประเทศเท่านั้น (ข้อมูล ณ วันที่ 18 ตุลาคม)
อีกทั้งเส้นทางคมนาคมหลัก พื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญ และนิคมอุตสาหกรรม แทบจะไม่ได้รับผลกระทบ
แต่ถึงกระนั้น รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง อีกทั้งนายกรัฐมนตรีได้มีการสั่งการลงไปแล้วให้เร่งประเมินวางแผนการเยียวยาล่วงหน้า โดยไม่รอให้น้ำลด ซึ่งนั่นจะไม่ทันการ
ข้อมูล ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี
ภาพปกโดยแฟ้มภาพ AFP