วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2024

กรมชลประทานระบายน้ำเพิ่ม 5 เขื่อนหลักอีสานกลาง เติมน้ำลงม.ชี ช่วยอุปโภคบริโภค

This image is not belong to us

กรมชลประทาน ปรับแผนเพิ่มการระบายน้ำจาก 5 เขื่อนหลักอีสานกลาง เติมน้ำในแม่น้ำชีหนุนน้ำดิบผลิตน้ำประปาในพื้นที่แม่น้ำชีตอนกลาง-ตอนล่าง หลังระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนภัยแล้ง กับนโยบาย เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตร

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมจิสด้าพบว่าเกษตรกรที่อยู่บริเวณสองฝั่งลำปาว ลำน้ำชีตอนล่าง และลำน้ำยัง มีการทำนาปรังโดยใช้น้ำจากสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า พื้นที่กว่า 260,000 ไร่ ส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำชีลดลงอย่างต่อเนื่อง ด้านศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะสำนักงานชลประทานที่ 6 (SWOC6) ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ เพื่อลดผลกระทบจากระดับน้ำที่ลดลง ที่มีแนวโน้มว่าจะส่งผลต่อการสูบน้ำดิบสำหรับผลิตประปาของการประปาส่วนภูมิภาคสาขายโสธร และประปาโพนทอง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ใช้น้ำดิบจากแม่น้ำชี ด้วยการปรับเพิ่มการระบายน้ำจากแผนเดิมไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม  เพื่อรักษาระดับน้ำและปริมาณน้ำในแม่น้ำชีให้เพียงพอต่อความต้องการซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการสนับสนุนน้ำเพื่อช่วยทุกภาคส่วนให้มีน้ำใช้อย่างเพียงพอ โดยให้คำนึงถึงน้ำกินน้ำใช้ของประชาชนเป็นหลัก

นายศักดิ์ศิริ อยู่สุข ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 กล่าวว่า ได้ปรับแผนการบริหารจัดการน้ำ เพื่อสนับสนุนน้ำดิบในการผลิตน้ำประปา ให้ประชาชนได้มีน้ำกินน้ำใช้อย่างเพียงพอ โดยการปรับเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น จากวันละ 4 เป็นวันละ 5 ล้าน ลบ.ม. ก่อนจะใช้ฝายหนองหวาย ระบายน้ำลงด้านท้ายฝายและควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำท่า E.22 B ไม่น้อยกว่าวันละ 0.5 ล้าน ลบ.ม. จากนั้น จะใช้เขื่อนทดน้ำในแม่น้ำชี ควบคุมการระบายน้ำลงสู่ด้านท้าย ดังนี้ เขื่อนมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ระบายน้ำลงด้านท้ายและควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำท่า E.91 ไม่น้อยกว่า วันละ 0.5 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนวังยาง จังหวัดมหาสารคาม ระบายน้ำลงท้ายน้ำและควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำท่า E.66A ไม่น้อยกว่าวันละ 0.3 ล้าน ลบ.ม.  และเขื่อนร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ระบายน้ำลงด้านท้ายวันละไม่น้อยกว่า 1.0 ล้าน ลบ.ม.  ด้านเขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ระบายน้ำเพิ่มอีกกว่าวันละ 1.0 ล้าน ลบ.ม. โดยคาดว่าจะต้องใช้ปริมาณน้ำต้นทุนจากเขื่อนลำปาวประมาณ 40 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนอุบลรัตน์อีกประมาณ 40 ล้าน ลบ.ม. จึงจะเพียงพอต่อการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตรในพื้นที่ลำน้ำชีตอนกลางไปจนถึงตอนล่างในเขตจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร และอุบลราชธานี ตามลำดับ

กรมชลประทานจะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค รวมทั้งการใช้น้ำในพื้นที่ตอนกลางและตอนล่างของแม่น้ำชี ซึ่งสำนักงานชลประทานที่ 6 ได้ประสานท้องถิ่นในการลดชั่วโมงการสูบน้ำและจัดรอบเวรการสูบของสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า(แพสูบ)ในแม่น้ำชี รวมไปถึงได้แจ้งการประปาส่วนภูมิภาคและประปาท้องถิ่นในลุ่มน้ำชีทำการต่อท่อสูบ เพื่อลดผลกระทบจากระดับน้ำที่ลดลง พร้อมกำชับให้โครงการชลประทานในพื้นที่ติดตามการส่งน้ำในระบบชลประทานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงขอให้ผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัด คุ้มค่า แบ่งปันกันอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคตลอดฤดูแล้งนี้

This image is not belong to us This image is not belong to us This image is not belong to us


ยโสธร

ยโสธร

เมืองบั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ

Next Post
















Welcome Back!

Login to your account below

Create New Account!

Fill the forms below to register

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.